HOME GLOBAL DISTRICTS CLUBS MISSING HISTORIES PAUL HARRIS PEACE
PRESIDENTS CONVENTIONS POST YOUR HISTORY WOMEN FOUNDATION COMMENTS PHILOSOPHY
SEARCH SUBSCRIPTIONS FACEBOOK JOIN RGHF EXPLORE RGHF RGHF QUIZ RGHF MISSION

Brief histories of the first clubs of each geographic regions or countries

Rotary Club of Bangkok, the First Club of Thailand

Rotary International District 3350

A Part of our History of Rotary in Asia

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินในงานของสโมสรโรตารี
เนื่องในงานฉลองครบรอบ 50 ปีของโรตารีในประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2523 ณ อาคารใหม่สวนอัมพร

 

ประวัติโรตารีในประเทศไทย (1)

 
  พระเจ้าบรมวงศ์
กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

 

สองทศวรรษหลังจากโรตารีได้ถือกำเนิดขึ้นในนครชิคาโก เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 (ค.ศ.1905) เมล็ดพันธุ์โรตารีจากสหรัฐก็ได้ถูกนำไปปลูกลงในดินดำ-น้ำชุ่ม ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยแห่งความเลื่อมใสและศรัทธาในอุดมการณ์ในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก แคนาดา อังกฤษ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส ยุโรป ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์

 

ในบริเวณภาคพื้นแหลมทองของเรานี้ โรตารีก็ได้ไปเริ่มหยั่งรากลงดินไว้เป็นแห่งแรกที่นครกัวลาลัมเปอร์ ในปี พ.ศ.2471 (ค.ศ.1928) เมื่อครั้งยังเป็นสหพันธ์รัฐมลายู ภายใต้การปกครองในเครือจักรภพอังกฤษ ครั้งนั้น โรแทเรียน เจมส์ ดับบลิว. เดวิดสัน แห่งสโมสรโรตารีแคลแกรี่ เมืองอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา (Rtn. James W. Davidson, Rotary Club of Calgary, Alberta, Canada) ได้รับการแต่งตั้งจากโรตารีสากลเป็นผู้แทนพิเศษผู้มีอำนาจเต็ม (General Commissioner) ในการก่อตั้งสโมสรโรตารี เดินทางมายังภาคตะวันออก เพื่อช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการก่อตั้งสโมสรต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้ เจมส์ ดับบลิว เดวิดสัน ประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจในการก่อตั้งสโมสรโรตารีถึง 7 สโมสรในสหพันธ์รัฐมลายูภายในเวลาสองปี หลังจากนั้นจึงได้เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย
 
 
เจมส์ ดับบลิว. เดวิดสัน

 

เจมส์ ดับบลิว. เดวิดสัน ได้ขอพระราชทานวโรกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เพื่อกราบทูลถวายเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของโรตารีให้ทรงทราบโดยละเอียด อีกทั้งยังได้ขอให้พระองค์ประทานพระดำริในอันที่จะก่อตั้งสโมสรโรตารีแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย

 

 

เสด็จในกรมฯ ทรงมีพระเมตตา โดยประทานความสนิทสนมเป็นการส่วนพระองค์ และเห็นใจในความเพียรพยายามของ เจมส์ ดับบลิว. เดวิดสัน ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบในอุดมการณ์ของโรตารี ดังนั้น สโมสรโรตารีแห่งแรกในประเทศไทย จึงได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2473 (ค.ศ.1930) เรียกชื่อว่า "สโมสรโรตารีกรุงเทพ" มีสมาชิกก่อตั้งรวม 69 ท่าน ซึ่งมีสัญชาติต่างๆ อยู่ถึง 15 ชาติด้วยกัน การประชุมก่อตั้งได้จัดทำขึ้น ณ พระราชวังพญาไท (ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ถนนราชวิถี กรุงเทพมหานคร) โดยเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงรับเป็นนายกก่อตั้งสโมสร
 
นับเป็นประวัติการณ์ของโลกโรตารีในยุคนั้น ที่องค์พระประมุขแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระกรุณาเสด็จไปประทับร่วมอยู่ในงานประชุมก่อตั้งในครั้งนั้นด้วย ยังความภาคภูมิใจให้แก่ชาวโรตารีต้องน้อมรับใส่เกล้าถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้น
 
ในปี พ.ศ.2474 (ค.ศ.1931) ในภาคพื้นแหลมทองแถบนี้ มีสโมสรโรตารีอยู่ทั้งสิ้น 8 สโมสร รวมทั้งสโมสรโรตารีกรุงเทพด้วย โรตารีสากลจึงจัดให้สโมสรทั้งแปดแห่งได้เข้าอยู่ในภาคเดียวกัน คือ "ภาคโรตารี บี" ซึ่งในขณะนั้นมีสภาพเป็นเพียง "ภาคโรตารีชั่วคราว" (Provisional District "B") อยู่ชั่วเวลาหนึ่ง
 
ในปี พ.ศ.2478 (ค.ศ.1935) โรตารีสากลได้ผนวกเอาสโมสรโรตารีทั้งหมดที่มีอยู่ในอินโดจีน ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส อันประกอบด้วย เขมร ลาว และญวน เข้าอยู่ใน "ภาคโรตารีบี" ด้วย ต่อมาโรตารีสากลได้เปลี่ยนชื่อเรียกของภาคที่เป็นตัวพยัญชนะ "บี" มาใช้หมายเลขแทนเป็น "ภาคโรตารี 80" อย่างสมบูรณ์ โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (H.R.H. Prince Purachatra) องค์นายกก่อตั้งของสโมสรโรตารีกรุงเทพ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการภาคโรตารี 80 บุคคลแรก เสด็จในกรมฯ ทรงรับตำแหน่งหน้าที่ผู้ว่าการภาคติดต่อกัน 2 สมัย คือ ปี 1935-36 และปี 1936-37 แต่พระองค์ได้สิ้นพระชนม์เสียก่อน ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2479 (ค.ศ.1936) หลังจากทรงรับตำแหน่งผู้ว่าการภาคสมัยที่สองได้เพียงสามเดือนเศษเท่านั้น
 
ปี พ.ศ.2491 (ค.ศ.1948) โรตารีสากลได้จัดลำดับหมายเลขของภาคโรตารีใหม่ "ภาคโรตารี 80" จึงได้เปลี่ยนเป็น "ภาคโรตารี 46"
 
ปี พ.ศ.2498 (ค.ศ.1955) อีกครั้งหนึ่งที่โรตารีและโรแทเรียนในประเทศไทย ต้องน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นตลอดไป อันเนื่องในโอกาสที่มีการฉลองวันครบรอบ 25 ปี ของการก่อตั้งสโมสรโรตารีกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเกียรติแก่โรตารี โดยรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของโรตารีในประเทศไทย (ซึ่งหมายถึงสโมสรโรตารีทุกแห่งในประเทศไทยด้วย)
 
ปี พ.ศ.2500 (ค.ศ.1957) โรตารีสากลได้คาดการณ์ล่วงหน้าไว้อย่างแม่นยำ จากจำนวนสโมสรที่มีอยู่ทั้งหมดทั่วโลก 9,507 สโมสร สมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 449,758 คน และภาคโรตารีมีเพียงไม่กี่สิบภาคในปีนี้ ถึงกระนั้นโรตารีสากลก็ยังได้เตรียมการไว้เพื่อวันข้างหน้า ดังนั้น การจัดหมายเลขประจำภาคจึงต้องเปลี่ยนเป็นเลขหลักสามตัวไว้รองรับการขยายตัวในอนาคต "ภาคโรตารี 46" จึงถูกเปลี่ยนใหม่เป็น "ภาคโรตารี 330" ประกอบด้วยสโมสรโรตารีที่มีอยู่ใน 7 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ บรูไน กัมพูชา ลาว และเวียดนาม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2500 (ค.ศ.1957) เป็นต้นไป
 
ปี พ.ศ.2501 (ค.ศ.1958) ได้มีการก่อตั้งสโมสรโรตารีธนบุรี โดยมีพระยามไหสวรรย์เป็นนายกก่อตั้ง ซึ่งเป็นสโมสรแห่งที่สองในประเทศไทย และใช้ภาษาไทยดำเนินการประชุม
 
ปี พ.ศ.2523 (ค.ศ.1980) วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2523 เป็นวันครบรอบ 50 ปีของโรตารีแห่งประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ได้เสด็จให้ชาวโรแทเรียนเข้าเฝ้าที่สวนอัมพร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2523 เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันสำคัญแห่งประวัติศาสตร์สโมสรโรตารี และหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ได้ร่วมกันให้ความอุปถัมภ์การประกวดการออกแบบดวงตราไปรษณียากร สำหรับโอกาสพิเศษครั้งยิ่งใหญ่นี้ และได้รับความร่วมมือจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย จัดพิมพ์แสตมป์ออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป
 
โรตารีสากลภาค 330 ในปีนี้มีสโมสรในประเทศต่างๆ เหลืออยู่เพียง 4 ประเทศเท่านั้น (สโมสรในประเทศกัมพูชา ลาวและเวียดนาม ได้สิ้นสภาพไปโดยความผันผวนทางการเมือง) และจำนวนสโมสรภายในภาคเพิ่มขึ้นใกล้จะถึง 90 สโมสร (โดยเฉพาะในประเทศไทยมีถึง 48 สโมสร) ที่ประชุมภาค 330 ครั้งที่ 45 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ระหว่าง 22-24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2523 (ค.ศ.1980) จึงมีมติให้แยก "ภาค 330" ออกเป็นสองภาค โดยสโมสรโรตารีในประเทศไทยมีภาคของตนเองต่างหาก คือ "ภาค 335 โรตารีสากล" ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2525 (ค.ศ.1982) เป็นต้นไป โดย อน.โรจน์วิทย์ เปเรร่า แห่งสโมสรโรตารีกรุงเทพใต้ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการภาคคนแรกของ "ภาค 335 โรตารีสากล" จำนวนสโมสรโรตารีในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นเป็น 69 สโมสร ในการร่วมฉลองครบรอบ 200 ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
 
สโมสรโรตารีในประเทศไทยได้รวบรวมเงินบริจาคเบื้องต้นได้ 1,068,700 บาท เพื่อจัดทำโครงการตั้งฉางและธนาคารข้าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และจัดตั้งกองทุนพัฒนาเด็กชนบทที่ยากไร้ในจังหวัดนครราชสีมาและชัยภูมิ
 
ปี พ.ศ.2528 (ค.ศ.1985) จำนวนสโมสรโรตารีในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวมเร็วเกินความสามารถของผู้ว่าการภาคจะสอดส่องดูแลได้อย่างทั่วถึง โรตารีสากลได้อนุมัติให้โรตารีในประเทศไทยแยกภาคออกเป็นสองภาค คือ "ภาค 335" และ "ภาค 336" เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2528 (ค.ศ.1985) โดยมีผลบังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม ของปีนั้นเป็นต้นไป
 
ปี พ.ศ.2535 (ค.ศ.1992) ด้วยเหตุผลที่คล้ายคลึงกันในการเปลี่ยนหมายเลขประจำภาคในปี พ.ศ.2500 และการแยกภาคในปี พ.ศ.2529 โรตารีสากลได้อนุมัติให้ภาค 335 และภาค 336 แบ่งสโมสรและแยกภาคเป็นสี่ภาคด้วยกัน คือ ภาค 3330, 3340, 3350 และ 3360 โดยมีผลบังคับตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2535 เป็นต้นมา
 
แม่น้ำที่กว้างใหญ่เป็นที่รวมของทางน้ำนับร้อยนับพันสายจากห้วยละหาน และลำธารซึ่งไหลเทลงมาจากเนินและภูเขาสูง เสียงน้ำไกลดังก้องนที มุ่งที่จะไปรวมอยู่ในร่องเดียวกับแม่น้ำใหญ่เฉกเช่นการเจริญเติบโตของโรตารีที่ยิ่งยงในวันนี้ได้ ก็เพราะการเสียสละส่วนตัวของโรแทเรียนนับหมื่นนับแสนจากประเทศต่างๆ มากมายนั่นเอง

 

A sample of some translated pages.

中文FrançaisDeutschItalianoShqipeNorskPolskiPortuguêsEspañolSvenskaภาษาไทยTürkçe

All of our 4,000 English pages can be partially translated, into over 30 languages, using our Google Tool.
 
 

acknowledgements to Thailand Rotary
posted by RGHF Webmaster greg Barlow March 2009

ROTARY GLOBAL HISTORY

SECTION HOME

First Rotary Club of Each Country

HISTORY CALENDAR

DISTRICTS CLUBS RI ARCHIVES HISTORY CALENDAR HISTORY OUTLINE DISCUSSION
COORDINATOR NEEDED    COMMITTEE WHAT'S NEW? UPDATES
 
RGHF Home | Disclaimer | Privacy | Usage Agreement | RGHF on Facebook | Subscribe | Join RGHF - Rotary's Memory Since 2000